การเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารระหว่างการลดน้ำหนักจะช่วยลดไขมันในตับและป้องกันโรคเบาหวานในผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับได้

0
2925

อย่างที่เราทราบกันดีว่าภาวะไขมันพอกตับคือภาวะที่ตับมีปริมาณไขมันมากกว่าร้อยละ 5
ของน้ำหนักรวมทั้งหมดของตับ ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่อ้วนและมีไขมันในช่องท้องมากกว่าปกติ
โดยภาวะนี้จะทำให้เกิดตับอักเสบ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ ตับวาย และเบาหวานได้
วิธีป้องกันและรักษาภาวะนี้ที่ดีที่สุดคือการลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายค่ะ

ข้อมูลการวิจัยนี้ทำในอาสาสมัครผู้ใหญ่จำนวน 25 คน (มี 15 คนเป็น NAFLD)
ซึ่งทุกคนได้รับคำแนะนำให้กินอาหารแคลอรี่ต่ำเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์และสามารถลดน้ำหนักในช่วงนี้ได้ถึง 8%
ของน้ำหนักตั้งต้น

หลังจากนั้นอาสาสมัครทั้งหมดจะควบคุมน้ำหนักด้วยการกินอาหารที่มีโปรตีนเพียงพอในระดับปานกลางหรือสูง
(ปริมาณโปรตีนเฉลี่ยระหว่าง 0.8 ถึง 1 กรัมต่อกิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว) เป็นระยะเวลาสองปี
โดยผู้วิจัยจะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวัดปริมาณไขมันในตับ
ความไวต่อฮอร์โมนอินซูลินและเก็บปัสสาวะเพื่อดูปริมาณโปรตีนที่ถูกกำจัดออกจากร่างกายในสามช่วงเวลาคือช่ว
งแรก เดือนที่6 และเดือนที่ 24 ค่ะ

ผลของการศึกษาพบว่า

  • ดัชนีมวลกาย ไขมันในตับ ไขมันในช่องท้อง ไขมันใต้ผิวหนัง ภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินเปลี่ยนแปลงในทาง
    ที่ดีขึ้นทั้งในเดือนที่ 6 และเดือนที่ 24 เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรกที่เข้าร่วมโครงการ
  • การเพิ่มโปรตีนในอาหารที่ระดับปานกลาง-สูงจะช่วยลดปริมาณไขมันในตับและไขมันในช่องท้อง โดย
    ที่อาสาสมัครมากกว่าครึ่งหนึ่งที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น NAFLD ตรวจไม่พบไขมันสะสมในตับ
  • การลดลงของดัชนีมวลกายและปริมาณไขมันในตับจะช่วยเพิ่มความไวของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

เอ!! แล้วจะต้องกินอย่างไรถึงจะได้โปรตีนคุณภาพดีในปริมาณที่เพียงพอในระหว่างการควบคุมน้ำหนัก??
Tips การกินโปรตีนคุณภาพดีในปริมาณที่เพียงพอ

  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยใช้หลักการกิน 2-1-1 ช่วย (ผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง)
    เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนเพราะจะช่วยทำให้โปรตีนทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ค่ะ
  • กินโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ แนะนำกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งมื้อละ 4 ช้อนโต๊ะ วันละ
    3 มื้อค่ะ
  • ดื่มนม/โยเกิร์ตพร่องมันเนยหรือไขมัน 0% ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีวันละ 1-2 กล่อง

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
Mathijs Drummen, Elke Dorenbos, Anita CE Vreugdenhil, Anne Raben, Mikael Fogelholm,
Margriet S. Westerterp-Plantenga, Tanja Adam. Long-term effects of increased proteinintake after weight loss on intrahepatic lipid content and implications for insulin
sensitivity – a PREVIEW study. American Journal of Physiology-Endocrinology and
Metabolism, 2018; DOI: 10.1152/ajpendo.00162.2018
American Physiological Society. (2018, August 16). More protein after weight loss may reduce
fatty liver disease: Increased protein during weight maintenance also reduces risk of type 2
diabetes. ScienceDaily. Retrieved March 13, 2019 from
www.sciencedaily.com/releases/2018/08/180816143041.htm