กลับมาตื่นตัวกันอีกครั้ง #เมื่อจังหวัดเชียงใหม่ติดอันดับเมืองที่มีค่า #PM2.5 สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก!!!
นอกจาก PM2.5 จะเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดตับ ตับอักเสบ และส่งผลให้คนที่เป็นมะเร็งตับอยู่แล้วมีอัตราการรอดชีวิตลดลง ล่าสุดพบรายงานความสัมพันธ์ของการสัมผัส PM2.5 กับภาวะ #ไขมันพอกตับในหนูทดลอง
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างหนูทดลองที่ได้รับอากาศบริสุทธ์ กับหนูทดลองที่สัมผัส PM2.5 เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า PM2.5 ส่งผลให้ PPAR-alpha ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในการควบคุมเมตาบอลิซึมของไขมันมีการแสดงออกลดลง ทำให้กลไกการสลายไขมันเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานของหนูหยุดชะงัก ในที่สุดไขมันไม่ได้ใช้งานจึงเก็บสะสมในเซลล์ตับมากขึ้น ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) คอเลสเทอรอล (cholesterol) และไขมันชนิดเลว (LDL) ในเลือดสูงขึ้น พร้อมทั้งมีค่าการอักเสบของตับทั้งระดับ AST และ ALT รวมถึงสารบ่งชี้การอักเสบตัวอื่น IL6 และ TNF-alpha สูงขึ้นอีกด้วย
เห็นไหมคะว่า นอกจากอาหารไขมันสูงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดไขมันพอกตับ ฝุ่นจิ๋วๆ อย่าง PM2.5 ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลร้ายต่อตับของเราได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น….ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 รับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ ป้องกันปัญหาไว้ดีกว่าตามแก้ไข หยุดสร้างมลพิษทางอากาศ หยุดเผาป่า หยุดขับรถควันดำ หยุดปล่อยมลพิษทางอากาศ และหันมาใส่ใจสภาพแวดล้อมโดยรวมกันนะคะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ
#ฝากกดไลค์และแชร์ข้อมูลหากคิดว่าข้อมูลนี้มีประโยชน์แก่คนที่คุณรักและห่วงใย
ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ จาก : Yining Qiu et al., Inhalation Exposure to PM2.5 Counteracts Hepatic Steatosis in Mice Fed High-fat Diet by Stimulating Hepatic Autophagy.Scientific Report 2017.