เป้าหมายใหม่ของยาต้านไวรัสตับอักเสบบี : B2.2

0
4150

ถึงแม้ว่าการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังในปัจจุบันจะมียาต้านไวรัสหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีดีเอนเอที่อยู่ในรูปแบบเฉพาะตัวที่เรียกว่า ซีซีซีดีเอนเอ (covalently closely circular DNA/cccDNA) ซึ่งสามารถอยู่ในเซลล์ตับของเราได้เป็นเวลานาน

#ดังนั้นจึงมีการพัฒนายาใหม่ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อรักษาให้หายขาดโดยมุ่งเน้นไปที่ 5 กลไกหลักดังนี้

  1. ตรวจสกัด (ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับ ทำให้เซลล์ตับไม่ติดเชื้อ)
  2. ตัดแต่ง (ทำให้ดีเอ็นเอของไวรัสเสียสภาพและไม่สามารถเพิ่มจำนวนไวรัสได้)
  3. แย่งจับ (หยุดยั้งการสร้างอาร์เอ็นเอทำให้ไม่สามารถสร้างอนุภาคไวรัสใหม่ๆได้)
  4. ยับยั้ง (#ยับยั้งการสร้างโปรตีนส่วนแกน #ทำให้ไม่สามารถสร้างอนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์ได้)
  5. สร้างภูมิ (เสริมภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรงขึ้นและสามารถทำลายไวรัสได้มากขึ้น)

ซึ่งข้อมูลการศึกษาล่าสุดนี้คาดว่า #ยาต้านไวรัสตับอักเสบบีชนิดใหม่ ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ต้านไวรัสโดยยับยั้งการสร้างโปรตีนส่วนแกน (nucleocapsid assembly) ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างอนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์ได้ จะเป็น #ตัวยาใหม่มาแรง และกำลังเข้าสู่การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 1 เพื่อศึกษาผลข้างเคียงและขนาดของยา และดูความเป็นไปได้ที่จะนำมารักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีต่อได้ในอนาคต….

อย่างไรก็ยังคงมีการพัฒนาการรักษาวิธีใหม่อย่างต่อเนื่อง หากการวิจัยนี้สำเร็จ ดร.พิทักษ์ตับสัญญาว่าจะมาเล่าสู่กันฟังและอัพเดตตัวยาใหม่ๆต่อไปนะคะ